ในแต่ละวัน วิศวกรโยธา ทำอะไรบ้าง

เคยสงสัยไหมครับว่า วิศวกรโยธา ทำอะไรบ้างในแต่ละวัน
สำหรับคลิปต่อไปนี้เป็นชีวิตของวิศวกรโครงสร้าง


วิศวกรรมโยธา เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ?


วิศวกรรมโยธา เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง ?

สำหรับผู้ที่เลือกเรียนทางด้านวิศวกรรมโยธา เมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาแล้วนั้นจะต้องมีการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรม (กว.) เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกร หรือ นายช่าง เสียก่อน จึงจะสามารถประกอบอาชีพได้
วิชาเรียนที่น้อง ๆ จะต้องเจอเมื่อเข้าศึกษาต่อทางด้านนี้ เช่น การเขียนแบบวิศวกรรม กลศาสตร์ของไหล โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร วิศวกรรมชลศาสตร์ ธรณีวิทยาวิศวกรรม การออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก การออกแบบโครงสร้างรับแรงแผ่นดินไหว วิศวกรรมชลประทานและการระบายน้ำ การออกแบบผิวจราจร และวิศวกรรมการขนส่ง เป็นต้น

สาขาย่อย วิศวกรรมโยธา ประกอบด้วย…

1. วิศวกรรมโครงสร้าง (Structural Engineering)

2. วิศวกรรมก่อสร้างและการจัดการ

3. วิศวกรรมขนส่ง

4. วิศวกรรมเทคนิคธรณี

5. วิศวกรรมธรณี

6. วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

7. วิศวกรรมทรัพยากรน้ำ

8. วิศวกรรมสำรวจ


มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ขอนแก่น : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : คลิกที่นี่
  • สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีมหานคร : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ : คลิกที่นี่
  • สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.บูรพา : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง : คลิกที่นี่
  • สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหาสารคาม : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ : คลิกที่นี่
  • สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร : คลิกที่นี่
  • ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์  ม.เกษตรศาสตร์ : คลิกที่นี่
  • สาขาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.รามคำแหง : คลิกที่นี่
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา : คลิกที่นี่
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://campus.campus-star.com/education/87121.html

วิศวกรโยธา ส่วนออกแบบโครงสร้าง

วิศวกรโยธาจะมีแบ่งย่อยออกไปอีก 5 สาย ที่ทำงานแตกต่างกัน

สายชลศาสตร์อันนี้จะทำงานเกี่ยวกับน้ำ เช่น เขื่อน, กรมชลประทาน เป็นต้น
สายสิ่งแวดล้อมที่จพดูแลงานจำพวกบำบัดของเสียต่างๆ
สายบริหารโครงการ คือ การดูแลการดำเนินไปของโครงการให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
สายออกแบบโครงสร้าง
สายสุดท้าย คือ site engineer ซึ่งเป็นสิ่งที่คนนึกถึงมากที่สุด
ถ้าเป็นเป้าหมายของงานเฉพาะของวิศวกรโยธาส่วนออกแบบโครงสร้าง
ก็คือ การออกแบบโครงสร้างของสิ่งปลูกสร้างตามฟังก์ชันการใช้งาน
ตามสิ่งที่ต้องมีอยู่ข้างใน เช่นเครื่องจักรอะไรบ้าง ใหญ่เล็ก หนัก เบา
ขนาดไหน หรือตามที่ลูกค้าต้องการ
หน้าที่สำคัญ
ขั้นตอนการทำงานของอาชีพนี้จะเริ่มจากการประชุมว่าความต้องการของลูกค้ามีอะไรบ้างและสิ่งปลูกสร้างที่เราจะสร้างขึ้นมาต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง เช่น มีน้ำหนักเท่าไหร่ที่จะอยู่บนหลังคา, พื้นแต่ละชั้นวางตรงไหน ทำอะไร เป็นต้น

จากนั้นก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการออกแบบเพื่อดูว่าควรจะมีอะไรอยู่ตรงไหน โครงสร้างส่วนนั้นควรจะเป็นอย่างไร โดยจะเป็นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วย

จากนั้นจะเป็นขั้นตอน drawing ซึ่งใช้คนช่วย draft แบบลงในกระดาษเพื่อส่งต่อให้ site engineer ไปสร้างตามแบบ
จากนั้นก็จะเป็นการลงพื้นที่ออกไปตรวจดูโครงสร้างว่าดำเนินการตรงตามแบบที่เราออกแบบไว้หรือไม่ รวมถึงช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นหน้างาน
โดยมีสิ่งสำคัญที่สุดที่วิศวกรโยธาไม่ว่าจะสายไหนก็ตามต้องให้ความสำคัญก็คือเรื่องความปลอดภัยทั้งในระหว่างตอนดำเนินการก่อสร้างและภายหลังจากที่เปิดใช้งานสิ่งปลูกสร้าง
ส่วนความเครียดหรือความท้าทายของการทำงาน ก็คือ การเปลี่ยนแปลงที่ต้องเจอตลอดช่วงระยะเวลาดำเนินการ เช่น เปลี่ยนแปลงกำหนดการเสร็จงาน, เปลี่ยนตำแหน่งเครื่องจักร, เปลี่ยนตำแหน่งเส้นทางเดินสายไฟ

*ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พี่ต้นแบบอาชีพ ในกิจกรรม “ฟักฝันเฟส 2017” ปี พ.ศ. 2560